เรื่องราวละครดราม่า แฟนตาซี เมื่อ พิมพ์ (แยม มทิรา) จะต้องเดินทางเข้าไปในป่าหิมพานต์ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อตามหา อุลกมณี ของวิเศษที่จะสามารถนำมาช่วย ทรงยศ (หมู สมภพ) พ่อบุญธรรมของเธอที่นอนป่วยอยู่ โดยมี สุนทร (ต้น จักรกฤษณ์) และ พัสสน (ต๊ะ วริษฐ์) สองพ่อลูกที่หวังจะครอบครองอุลกมณีไว้เอง
แต่การจะเข้าไปในป่าหิมพานต์ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หนุ่ม กริช (หลุยส์ สก๊อต) พรานหนุ่ม ลูกชายของ พรานนิล (ต๊อบ สหัสชัย) ที่เคยเข้าไปและสามารถกลับออกมาได้ พิมพ์จึงต้องออกตามหาเขา เพื่อพาเธอไปยังจุดหมายปลายทางในครั้งนี้
ในการเดินทางสู่ป่าหิมพานต์ครั้งนี้ ไม่มีใครรู้เลยว่าอันตรายข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ใครที่เฝ้ารอให้พวกเขาเดินทางมายังป่าหิมพานต์แห่งนี้ และเรื่องราวจะจบลงอย่างไร ต้องตามลุ้นกันต่อในละคร พิภพหิมพานต์ ที่เตรียมออกอากาศให้ชม ทุกวันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 20.20 น. ทางช่อง 3
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คืออะไร
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือจะเรียกให้ถูกหลักวิชาจริงๆ ก็ต้องว่า อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา เรียกว่า ไตรลักษณ์ (ลักษณะที่ปรากฏให้เห็นสามอย่าง) หรือสามัญ (ลักษณะที่มีเหมือนกันแก่สรรพสิ่ง)
อนิจจตา พระท่านแปลว่า “ความไม่เที่ยง” ฟังแล้วยังงงๆ อยู่ จนเด็กถามว่า ไม่เที่ยงนี้หมายถึงยังเช้าอยู่ หรือว่าบ่ายไปแล้ว! ความจริงถ้าจะแปลว่า “ความเปลี่ยนแปลง” จะเข้าใจทันที
ผมเมื่อก่อนยังดำสลวยเป็นเงางามชวนมอง เดี๋ยวนี้กลายเป็นสีดอกเลา แล้วก็ขาวโพลน นี่ก็อนิจจตา
ผิวพรรณเคยผ่องใส มีน้ำมีนวล เดี๋ยวนี้เหี่ยวย่น ตกกระ กระดำกระด่างน่าเกลียดจัง ถามดวงตาที่เคยดำกลับงามยิ่งกว่าตาเนื้อทราย (วรรณคดีว่างั้น) ไม่รู้กามันเหยียบเมื่อใดมีรอยตีนกาเต็มไปหมด นี่ก็อนิจจตา
ทุกขตา ท่านแปลว่า “ความทนไม่ได้” หมายถึงภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ตลอดกาล ภาวะที่ขัดแย้งในตัว ไม่สมบูรณ์ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
อนิจจตากับทุกขตา ใกล้เคียงกันมาก ถ้าจะให้เข้าใจง่ายให้กำหนดดังนี้ครับ อาการปรากฏชัดภายนอก หรือความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏให้เห็น เช่น ผมหงอก ฟันหลุด หนังที่เหี่ยวย่น เป็นอนิจจตา ความไม่สมบูรณ์ในตัวมันเองความบกพร่องภายใน ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นทุกขตา
พูดง่ายๆ ว่า ความเปลี่ยนแปลง (change) คือ อนิจจตาสาเหตุของความเปลี่ยนแปลง (subject to change) เป็นทุกขตา
ส่วน อนัตตา มีความหมาย 2 นัย คือ (1) “ไม่ใช่ตน” หมายถึงไม่ใช่ตัวตนของเรา สักแต่ว่าธาตุสี่ขันธ์ห้ารวมกันแล้วก็สมมติว่า นายนั่น นางนี่ เท่านั้นเอง แท้จริงแล้วไม่มีตัวตนที่แท้จริง ถึงเวลาก็ดับสลายไปตามเหตุปัจจัย
พระบาลีอธิบายไว้ชัดแล้วว่า ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวเป็นตนของใครจริงแล้ว เขาย่อมบังคับหรือขอร้องมันได้ เช่น บอกมันว่า ผมเอ๋ย ให้แกดำงามอยู่อย่างนี้นะเว้ย อย่าได้หงอกเป็นอันขาด ฟันเอ๋ย เอ็งอย่าโยกคลอนนาเว้ย เคี้ยวอะไรลำบากว่ะ กำลังวังชาขอให้เข้มแข็งอยู่อย่างนี้นา อย่าได้ “บ้อลั่ก” เป็นอันขาด ขอให้ “เตะปี้บ” ดังปังๆ ตลอดไป
มันฟังเราไหม? เปล่าเลย ถึงเวลาผมมันก็หงอก ฟันมันก็โยกคลอนหรือหลุดไป และหมดเรี่ยวหมดแรงลงตามลำดับขนาดขึ้นบันไดยังหอบแล้วหอบอีก
นี่คือความหมายของอนัตตานัยที่หนึ่ง
ส่วนความหมายนัยที่สองคือ “ไม่มีตัวตนถาวร” อันนี้หมายถึง ไม่มีอัตตา หรืออาตมันถาวร อย่างที่คนสมัยนั้นเชื่อถือและสั่งสอนกัน คือชาวอินเดียสมัยโน้นสอนกันว่า ร่างกายแตกดับสลายไปแล้ว ยังมีสิ่งหนึ่งไม่ดับไปด้วย เพราะเป็นสิ่งที่ “สมบูรณ์ที่สุด” (the absolute) สิ่งนี้เรียกกันว่า “อัตตา” (หรือ อาตมัน) บ้าง “ชีวะ” บ้าง